page2
สมอไทย งานวิจัยและสรรพคุณ 33ข้อ
ชื่อสมุนไพร สมอไทย
ชื่อประจำถิ่น / ชื่ออื่นๆ สมอไทย สมออัพยา (ภาคกลาง) สมอ (นครราชสีมา) มาแน่ (เชียงใหม่) หมาก
ชื่อวงศ์ Combertaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia chebula Retz.
สมอไทย
ถิ่นกำเนิดสมอไทย
สมอไทยเป็นพืชท้องถิ่นไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า และลาว เป็นต้น รวมถึงเอเชียใต้ พบได้มากในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ในภาคกลาง อีสาน และภาคเหนือ ชาวธิเบตถือว่าสมอไทยคือ "ราชาแห่งยา"
ประโยชน์และสรรพคุณสมอไทย
แก้บิด
แก้ไข้
ขับเสมหะ
แก้โลหิตในอุทร
แก้น้ำดี
เป็นยาระบายชนิดรู้ถ่ายรู้ปิด
แก้ลมป่วง
แก้พิษร้อนภายใน
แก้ลมจุกเสียด
ถ่ายพิษไข้
คุมธาตุ
แก้ไอ เจ็บคอ
ขับน้ำเหลืองเสีย
แก้เสมหะเป็นพิษ
แก้อาเจียน
บำรุงร่างกาย
แก้นอนสะดุ้งผวา ทำให้นอนหลับสบาย
แก้ปวดเมื่อยตามร่ายกายตามข้อ
แก้อ่อนเพลีย
แก้ท้องผูก ชำระล้างเมือกมันในลำไส้
แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ
แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี
แก้โรคท้องมาน
แก้ตับม้านโต
แก้สะอึก
แก้ท้องร่วงเรื้อรัง
แก้โลหิตในท้อง
บำรุงหัวใจ
ฟอกโลหิต แก้ประจำเดือนไม่ปกติ
ช่วยเจริญอาหาร
ขับลมในกระเพาะ ลำไส้
ช่วยย่อยอาหาร
โรคภูมิแพ้ หอบหืด
ในตำรายาไทย สมอไทยจัดอยู่ในยาสมุนไพร พิกัดตรีผลา การจำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่างคือ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม พิกัดตรีผลา การจำกัดจำนวนสมอ 3 อย่าง คือ สมอพิเภก สมอไทย และสมอเทศ พิกัดตรีฉันทลามมก การจำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุลามกให้ตกไป 3 อย่างคือ โกศน้ำเต้า สมอไทย และรงทอง
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้สมอไทย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร รวม 2 ตำรับ คือ “ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง” สรรพคุณ แก้อาการท้องผูก กรณีที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ได้ผลและ“ยาธาตุบรรจบ”ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อและอาการอุจจาระธาตุพิการท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งสมอไทยนั้นมีรสต่างๆ ถึง 6 รสด้วยกัน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มานาชาตินิยมมากที่สุดในจำนวนสมุนไพรทั้งหมดทั้งมวลก็ว่าได้ ซึ่งจะมีรสชาติดังนี้ รสเปรี้ยว รสฝาด รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม ทั้งหมดนี้คือสรรพคุณของสมอไทย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้สมอไทย
รับผลิตอาหารเสริม
• ผลดิบกินเป็นผลไม้สด รสเปรี้ยวขมอมฝาด มีแทนนินเป็นจำนวนมาก หรือนำไปดองเกลือ
• ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก
• ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก้เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า
• ผลสุก 5 – 6 ผลต้นกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นระบายอ่อนๆ ใช้น้ำประมาณ 1 ถ้วยแก้ว จะถ่ายหลังจากกินแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง
ลักษณะทั่วไปสมอไทย
• ต้นสมอไทย ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 20 – 30 เมตร เรือนยอดกลมกว้าง เปลือกต้นขรุขระ สีเทาอมดำ เปลือกในสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีแดง กิ่งอ่อนสีเหลืองหรือสีเหลืองแกมน้ำตาล มีขนคล้ายไหม เปลือกแตกเป็นสะเก็ดห่างๆ ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น
•ใบสมอไทย เป็นเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปรีกว้าง กว้าง 5 – 10 ซม. ยาว 11 – 18 ซม. ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลมโคนกลมหรือกึ่งตัด หรือบางครั้งเบี้ยว ขอบเรียบแผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นเงามันมีขนเล็กน้อย ผิวด้านล่างมมีขนคล้ายไหมถึงขนสั้นหนานุ่ม เมื่อแก่เกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ข้างละ 5 – 8 เส้น ก้านใบยาว 1.5 – 3 ซม. มีขนคล้ายไหม มีต่อม 1 คู่ ใกล้โคนใบ
• ดอกสมอไทย ออกเป็นช่อคล้ายช่อเชิงลดหรือช่อแยกแขนง มี 3 – 5 ช่อ สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มักจะออกพร้อมๆ กับใบอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 5 – 8.5 ซม. ไม่มีก้านข่อดอก หรือก้านช่อดอกสั้น แกนกลางสั้นและเปราะ มีขนสั้นนุ่ม ดอกสมบูรณ์เพศขนาดเล็ก 0.3 – 0.4 ซม. ไม่มีกลีบดอก ส่วนบนเป็นรูปะถ้วยตื้นมีขนคลุมด้านนอก ใบประดับรูปแถบ ยาว 3.5 – 4 มม. ปลายแหลม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก เกลี้ยง รูปคล้ายสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้มี 10 กลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณู ยาว 3 – 3.5 มม. เกลี้ยง จานฐานดอกมีขนเกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2 – 3.5 มม. รังไข่เกลี้ยง หมอนรองดอกมีพูและขนหนาแน่น
• ผลสมอไทย แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือเกือบกลม กว้าง 2 – 2.5 ซม. ยาว 2.5 – 3.5 ซม.ผิวเกลี้ยง หรือมีสันตื้นๆ ตามยาว 5 สัน เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลแดง
• เมล็ดสมอไทย แข็ง มี 1 เมล็ด รูปยาวรี ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือพบตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1000 เมตร